****************
ผองเพื่อนที่รักทั้งหลาย
***************************************
ช่วงเวลาใดที่ ปริมาณความสุขหรือความพอใจเกิดลดหายไป
ปัญหาหรือความทุกข์ ก็ปรากฏขึ้น
เรียกสภาพความทุกข์ในลักษณะนี้ว่าว่า นรก
มนุษย์ผู้นั้นก็จะวิ่งแสวงหาความสุขมาเติมให้เต็มอีกในครั้งต่อไป
เพราะความไม่ยั่งยืนของความสุข
ดังนั้นสภาวะนรก หรือ สวรรค์ จึงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
หมุนวนเป็นวัฎจักรของชีวิต
ตราบใดที่มนุษย์ยังรักษาดุลภาพของความสุขไว้ได้
ก็จะยังไม่เกิดพลังหรือแรงจูงใจใดๆ หรือไม่ต้องดิ้นรน
ที่จะแสวงหาความสุขมาเพิ่มเติม
รอจนกว่าดุลยภาพของความสุขจะสูญเสียไปในระดับที่เกิดความทุกข์ขึ้น
มนุษย์จึงจะดิ้นรน แสวงหา เป็นแรงจูงใจที่จะต้องคิดหาวิธีการหรือศาสตร์ต่างๆ
เพื่อนำมาบำบัดความทุกข์เหล่านั้น
จากสมการ [1]
ปัญหาความทุกข์ = ความต้องการ หารด้วยสิ่งตอบสนองความต้องการ
***************************************
อธิบายได้ว่า ความต้องการ ของมนุษย์มี 2 ประเภท คือ
*************************************
(1) ความต้องการพื้นฐาน หรือ Need ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องแสวงหา
เพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอด ปลอดภัย ได้แก่
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
(2) ความต้องการส่วนเกิน หรือ Want
ได้แก่ลาภ ยศ สรรเสริม โลกียสุข เป็นความโง่เขลาของมนุษย์
ที่ดิ้นรนแสวงหาสิ่งเหล่านี้มาเสพ
เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนมีฐานะ ความอลังการ เหนือมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น
เงิน เพชร คฤหาสน์หรู รถราคาแพง
************************
จากทฤษฎีของ Maslow ได้แบ่งประเภทของความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ไว้ 5 ประการ คือ
(1) ความต้องการปัจจัยสี่ (อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค )
(2) ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(3) ความต้องการความรักจากผู้อื่น
(4) ความต้องการการยอมรับจากสังคม
(5) ความต้องการการประสบความสำเร็จในชีวิต
ซึ่งสอดคล้องกับคติทางพุทธศาสนา ที่กล่าวไว้ว่า
มนุษย์มีความกลัวภัย 5 ประการ ได้แก่
(1) ความกลัวต่อภัย อันเนื่องด้วยการดำรงชีวิต หรือ อาชีวิตภัย
(2) ความกลัวต่อภัย อันเนื่องด้วยถูกสังคมตำหนิ หรือ อสิโลกภัย
(3) ความกลัวต่อภัย อันเนื่องด้วยการสูญเสียศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ
และความเชื่อมั่นในตนเอง หรือ สารัชภัย
(4) ความกลัวต่อความตาย
รวมทั้งความไม่มั่นคงในอนาคตข้างหน้า หรือ มรณภัย
(5) ความกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยความไม่ประจักษ์ถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับชีวิต
หรือ ทุคติภัย (พลสูตรอังคุตรนิกาย นวกนิบาต)
********************************
จากความต้องการพื้นฐาน และความกลัวภัยทั้ง 5 ประการของมนุษย์
รวมกันเป็น ความต้องการพื้นฐาน(needfulness)
ที่มนุษย์ทุกคนต้องแสวงหาและได้รับการสนองตอบ
การแสวงความต้องการเหล่านี้
เริ่มมีขึ้นกับสิ่งที่มีชีวิตที่เป็นสัตว์เดรัจฉานและมนุษย์
ซึ่งเป็นเพียงความต้องการที่
เมื่อเสพจนอิ่มและพึงพอใจแล้ว ก็เป็นอันยุติ เมื่อร่างกายต้องการ
หรือปัจจัยสี่บกพร่องก็แสวงหาใหม่
ซึ่งโดยสภาพแล้ว ทรัพยากรที่จะนำมาสนองตอบความต้องการพื้นฐาน
จะมีเพียงพอแก่ความต้องการ
จะขาดแคลนไปบ้าง ธรรมชาติรักษาดุลย์ของมันเอาไว้ เช่น
การรักษาอัตราส่วนของปริมาณม้าลายในป่ากับจำนวนสิงโต
หรือ การลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อมีผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง
***********************************
เพราะฉะนั้น สิ่งที่สูญเสียไปเมื่อคืนนี้ จึงจะยังคงกลับมา
เพื่อรักษาสมดุลย์ในตัวของมันเอง ในอีกไม่ช้า
********************************************
ขอบคุณทุกท่านที่อดทนในการบริโภคทางวิชาการที่แสนเอร็ดอร่อย
********************************************
ไม่รู้พูดเรื่องอะไร ไม่รู้พูดทำไม
พูดแล้วได้ประโยชน์อะไร ท่าจะบ้าจริงๆ
อีตา PIZZA นี่
********************
06 / 11 / 2006 10:20