เส้นทางสู่คอนเฟดเดอเรชั่น คัพ
หลังจากห่างหายในเวทีคอนเฟดเดอเรชั่น คัพ มากว่า 8 หรือตั้งแต่ปี 2005 มาคราวนี้ "นักสู้เลือดบูชิโด" กลับมาผงาดในศึกแชมป์ชนแชมป์ เพื่อหาทีมที่ดีเก่งที่สุดในโลกอีกครั้ง โดยญี่ปุ่น ได้สิทธิ์ในฐานะแชมป์เอเชีย หรือเอเชี่ยน คัพ 2011 ที่กาตาร์ ด้วยการพิชิตคู่รักคู่แค้นอย่างเกาหลีใต้ในรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะสยบออสเตรเลีย ในรอบชิงชนะเลิศ จากประตูชัยช่วงต่อเวลาพิเศษของ ทาดานาริ ลี ส่งให้ทีมจากแดนปลาดิบกลับมาทวงจ้าวเอเชียเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2004
นักเตะที่น่าจับตามอง : เคซูเกะ ฮอนดะ
จริงๆญี่ปุ่นยุคโมเดิร์น อุดมไปด้วยนักเตะฝีเท้าร้ายกาจเกือบครบทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะในบรรดามิดฟิลด์ตัวรุกซึ่งผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด พร้อมกับสร้างความหนักใจต่อผู้จัดการทีม ว่าจะส่งใครลงสนามในแนวรุก แต่ตัวเลือกอันดับแรกที่เราจะต้องเห็นอยู่ในทีมชุดใหญ่ก็คงหนีไม่พ้น เคซูเกะ ฮอนดะ ซึ่งเจ้าตัวจะได้รับบทบาทที่เด็กๆญี่ปุ่นหลายคนไฝ่ฝั่นจะเล่นก็คือ กองกลางตัวรุก หรือกองหน้าตัวต่ำ
ขนาดชินจิ คางาวะ ที่ว่าแน่ๆ ยังต้องหลีกทางไปยืนตรงริมเส้น ก็แน่นอนว่า ฮอนดะ คือแข้งหมายเลขหนึ่งของทีมจากแดนปลาดิบในเวลานี้ จะว่าไปก็น่าเสียดาย เพราะจอมทัพเท้าซ้าย เลือกไปค้าแข้งในลีกรัสเซีย ทำให้แฟนบอลทั่วโลกไม่มีโอกาสยลโฉมฝีเท้าของฮอนดะ มากเท่าที่ควร ส่วนจุดเด่นของเจ้าตัว ก็น่าจะหนีไม่พ้นฟรีคิกอันทรงพลัง ยิงไกล การจ่ายบอลทะลุช่อง และการสอดขึ้นไปทำประตู
ฉายา : เลือดบูชิโด, ปลาดิบ, บลู ซามูไร
อันดับฟีฟ่า : 32
กัปตันทีม : มาโกโตะ ฮาซาเบะ
ติดทีมชาติมากที่สุด : ยาซูฮิโตะ เอ็นโดะ (129 นัด)
ดาวซัลโวสูงสุดในปัจจุบัน : ชินจิ โอกาซากิ (63 นัด 33 ประตู)
ประวัติการเข้าร่วมรายการนี้ : 4 ครั้ง (2001, 20003, 2005 และ2013)
ผลงานที่ดีที่สุดในรายการนี้ : รองแชมป์ปี 2001
ผลงานดีที่สุดในทัวร์นาเมนต์ระดับฟีฟ่า : เหรีญทองแดงโอลิมปิก 1968 ที่เม็กซิโก, รองแชมป์ฟุตบอลโลก ยู-20 1999 ที่ไจีเรีย, รอบ 8 ทีม สุดท้ายฟุตบอลโลก ยู-17 2011 ที่เม็กซิโก
ผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน : อัลแบร์โต้ ซัคเคโรนี่
เป็นเหมือนกับบรรดายอดผู้จัดการทีม ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จในระดับนักเตะอาชีพ แต่มาเอาดีทางสายงานโค้ช ซัคเคโรนี่ ต้องยุติชีวิตการค้าแข้งด้วยวัยไม่ถึง 30 ปี เพราะโดนอาการบาดเจ็บรุมเร้า ก่อนจะพลิกบทบาทมาประเดิมงานกุนซือครั้งแรกกับทีมเล็กๆในเซเรีย ดี อย่าง เซเซนาติโก้ ในปี 1983
จากนั้น ซัคเคโรนี่ ก็พัฒนาฝีไม้ลายมือการคุมทัพขึ้นมาเรื่อยๆ ก่อนจะได้ลิ้มลองความท้าทายกับสโมสรใหญ่อย่าง อูดิเนเซ่ ในปี 1995 พร้อมกับพาต้นสังกัดบินสูงถึงอันดับ 3 ในอีก 2 ปีถัดมา (ฤดูกาล 1997-98) กับผลงานอันโดดเด่น เทรนเนอร์หนุ่มจึงวนเวียนอูยู่กับการกุมบังเหียนทีมใหญ่นับแต่นั้นมา โดยประสบการณ์กับทีมบิ๊กเนมอย่าง เอซี มิลาน, ลาซิโอ, อินเตอร์ มิลาน และยูเวนตุส ก่อนจะมาหาประสบการณ์กับทีมชาติในเอเชีย อย่างญี่ปุ่น ในปัจจุบัน
เป็นเหมือนกับบรรดายอดผู้จัดการทีม ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จในระดับนักเตะอาชีพ แต่มาเอาดีทางสายงานโค้ช ซัคเคโรนี่ ต้องยุติชีวิตการค้าแข้งด้วยวัยไม่ถึง 30 ปี เพราะโดนอาการบาดเจ็บรุมเร้า ก่อนจะพลิกบทบาทมาประเดิมงานกุนซือครั้งแรกกับทีมเล็กๆในเซเรีย ดี อย่าง เซเซนาติโก้ ในปี 1983
จากนั้น ซัคเคโรนี่ ก็พัฒนาฝีไม้ลายมือการคุมทัพขึ้นมาเรื่อยๆ ก่อนจะได้ลิ้มลองความท้าทายกับสโมสรใหญ่อย่าง อูดิเนเซ่ ในปี 1995 พร้อมกับพาต้นสังกัดบินสูงถึงอันดับ 3 ในอีก 2 ปีถัดมา (ฤดูกาล 1997-98) กับผลงานอันโดดเด่น เทรนเนอร์หนุ่มจึงวนเวียนอูยู่กับการกุมบังเหียนทีมใหญ่นับแต่นั้นมา โดยประสบการณ์กับทีมบิ๊กเนมอย่าง เอซี มิลาน, ลาซิโอ, อินเตอร์ มิลาน และยูเวนตุส ก่อนจะมาหาประสบการณ์กับทีมชาติในเอเชีย อย่างญี่ปุ่น ในปัจจุบัน
สไตล์ทีม
รูปแบบการเล่นของญี่ปุ่น ก้าวหน้ากว่าทีมอื่นๆในเอเชีย โดยมีสไตล์ภาคพื้นยุโรปเข้ามาประยุต์ "บลู ซามูไร" จะเล่นกันง่าย ออกบอลเร็ว ไม่เก็บบอลไว้กับตัวนาน หรือเรียกว่า all field playing (ออกบอลทั่วทุกพื้นที่ของสนาม) ซึ่งเป็นแบบแผนของพวกเขาที่บ่มเพาะกันมาตั้งแต่ชุดเยาวชน ในระบบ 4-2-3-1
นอกจากนี้ "ปลาดิบ" ยังยืดหยุ่นการเล่นได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเจอคู่ต่อสู้ระดับไหน หากเผชิญกับคู่แข่งที่มาตรฐานเหนือกว่า อย่างในฟุตบอลโลก ทางญี่ปุ่น ก็จะเน้นเพรสซิ่งตั้งแต่หน้าปากประตูตัวเองถึงครึ่งสนาม รอตัดบอลจากคู่ต่อสู้แล้วโต้กลับอย่างฉับพลัน แต่ถ้าเจอกับทีมระดับเดียวกันหรืออ่อนชั้นกว่าอย่างในเอเชี่ยน คัพ หรือในศึกคัดบอลโลก แชมป์เอเชีย ก็จะกดดันคู่แข่งตั้งแต่กลางสนามถึงปากประตูฝั่งตรงข้าม ใช้ลูกสั้นที่แม่นยำเข้าโจมตี รอเวลาคู่ต่อสู้เปิดช่องว่าง ก่อนจะเผด็จศึก
วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน
จุดแข็งแน่นอนว่าทุกคนต้องพุ่งไปที่กองกลาง เพราะ "บลู ซามูไร" อุดมไปด้วยมิดฟิลด์ระดับเวิลด์-คลาส แถมยังมีตัวเลือกล้นทีม การเล่นลูกสั้นอันแม่นยำ ออกบอลเร็ว จับอลหนึ่งจังหวะ และก็จ่ายให้เพื่อน สังเกตุเห็นได้ว่า การขึ้นเกมของแชมป์ เอเชีย จะส่งผลเท้าต่อเท้าค่อนข้างแม่น ไม่เสียบอลง่ายๆ อีกจุดเด่นของนักเตะญี่ปุ่นก็คือสปีด ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกเลยเลยว่า นักเตะคนไหนจะได้เล่นในทีมชาติหรือไม่ จึงไม่แปลกว่าทำไมแข้ง "แดนปลาดิบ" สปีดจึงเร็วจี๋ทุกราย ส่วนความฟิตก็เป็นอีกจุดที่ญี่ปุ่นค่อนข้างเหนือกว่าชาวบ้าน
จุดอ่อนของพวกเขาก็คงหนีไม่พ้นการปิดสกอร์ หรือกองหน้าจอมถล่มประตู ซึ่งในหลายๆเกม "ปลาดิบ" ต้องอาศัยกองกลางสอดขึ้นมาระเบิดตาข่าย อาจจะเป็นเพราะด้วยแท็คติก ที่ใช้ระบบกองหน้าตัวเดียว บทบาทของตัวจบสกอร์จึงค่อนข้างน้อย เพราะถูกแนวรับคู่แข่งรุมทึ้ง ดังนั้นหากวันไหนกองกลางของ "บลู ซามูไร" ครองบอลไม่ได้ วันนั้นญี่ปุ่นก็นิ่งสนิท สังเกตุได้ว่าถ้ายอดทีมจากเอเชีย เจอแผงมิดฟิลด์แกร่งๆของคู่แข่ง อย่างทีมในแอฟริกา หรือในยุโรป "ยุ่น" ถึงกับต้องถอยกรูดลงมาตั้งรับ และแน่นอนว่า กองหน้าของญี่ปุ่น ก็จะหายไปจากเกมโดยสิ้นเชิง
อดีตดาวดังของทีม : คาซูโยชิ มิอูระ, ชุนสุเกะ นากามูระ, ฮิเดโตชิ นากาตะ
รายชื่อ 23 ผู้เล่น
ผู้รักษาประตู: เอจิ คาวาชิมะ (สตองดาร์ ลีแอช/เบลเยียม), ซูซากุ นิชิกาวะ (ฮิโรชิมา ซานเฟรซ), ชูอิจิ กอนดะ (เอฟซี โตเกียว)
กองหลัง : ยาซูยูกิ คอนโนะ (กัมบะ โอซากะ), ยูโซ คูริฮาระ (โยโกฮาม่า มารินอส), มาซาฮิโกะ อิโนอะ (จูบิโล อิวาตะ), ยูโตะ นากาโตโมะ (อินเตอร์ มิลาน/อิตาลี), อัตสึโตะ อูชิดะ (ชาลเก้/เยอรมัน), มายะ โยชิดะ (เซาท์แฮมป์ตัน/อังกฤษ), ฮิโรกิ ซากาอิ (ฮันโนเวอร์/เยอรมัน), โกโตกุ ซากาอิ (สตุ๊ตการ์ต/เยอรมัน)
กองกลาง : ยาซูฮิโตะ เอ็นโดะ (กัมบะ โอซากะ), เคนโงะ นากามูระ (คาวาซากิ ฟรอนตาเล่), มาโคโตะ ฮาเซเบะ (โวล์ฟบวร์ก/เยอรมัน), ฮาจิเมะ โฮโซกาอิ (เลเวอร์คูเซ่น/เยอรมัน), เคซึเกะ ฮอนดะ (ซีเอสเคเอ มอสโก/รัสเซีย), ฮิเดโตะ ทาคาฮาชิ (เอฟซี โตเกียว), ทากาชิ อินูอิ (แฟรงค์เฟิร์ต/เยอรมัน), ชินจิ คางาวะ (แมนฯ ยูไนเต็ด/อังกฤษ), ฮิโรชิ คิโยทาเกะ (เนิร์นแบร์ก/เยอรมัน)
กองหน้า: เรียวอิชิ มาเอดะ (จูบิโล อิวาตะ), ชินจิ โอกาซากิ (สตุ๊ตการ์ต/เยอรมัน), ไมค์ ฮาเวนนาร์ (วิเทสต์/ฮอลแลนด์)
ตาราง/คิวเตะ
Team | MP | W | D | L | GF | GA | Pts |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Brazil | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
Japan | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
Mexico | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
Italy | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
Match | Date - Time | Venue | Results | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 15/06 16:00 | Brasilia | Brazil | vs | Japan | ||
2 | 16/06 16:00 | Rio De Janeiro | Mexico | vs | Italy | ||
5 | 19/06 16:00 | Fortaleza | Brazil | vs | Mexico | ||
6 | 19/06 19:00 | Recife | Italy | vs | Japan | ||
9 | 22/06 16:00 | Salvador | Italy | vs | Brazil | ||
10 | 22/06 16:00 | Belo Horizonte | Japan | vs | Mexico |